วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT <p><strong>วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์</strong><br /><strong>Journal of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University</strong></p> <p><strong>ISSN 2985-0274 (Print)<br />ISSN 2985-0282 (Online)</strong></p> <p>เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย รับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>วารสารมีวาระออกปีละ 6 ฉบับ ได้แก่ <br />ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ <br />ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน <br />ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 4 กรกฏาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม<br />ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม</p> <p>ขอบเขตของวารสาร ดังนี้<br />- วิศวกรรมทั่วไป (General Engineering)<br />- วิศวกรรมอุตสาหการและวิศวกรรมการผลิต (Industrial and Manufacturing Engineering)<br />- วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)<br />- เทคโนโลยีสื่อและประยุกต์ใช้ (Media Technology and Application)<br />- สถาปัตยกรรม (Architecture)</p> <p>บทความที่ส่งเข้ามายังวารสารจะได้รับการประเมินคุณภาพของผลงานทางวิชาการโดยหัวหน้ากองบรรณาธิการ (Editor in Chief) ถ้าบทความมีคุณภาพที่อาจได้รับการตีพิมพ์ หัวหน้ากองบรรณาธิการจะมอบหมายให้บรรณาธิการประจำเรื่อง(Section editor) เป็นผู้พิจารณาและดำเนินการส่งบทความให้ผู้ประเมินบทความ (Peer reviewers) ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ซึ่งบทความที่ถูกส่งไปยังผู้ประเมินจะเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ และผู้ประเมิน (Double -Blinded Review) เมื่อผู้ประเมินบทความส่งข้อคิดเห็นมายังบรรณาธิการประจำเรื่อง บทความที่ถูกประเมินจะได้รับการตัดสินใจจากกองบรรณาธิการโดยอาศัยความคิดเห็นของผู้ประเมินเสียงข้างมาก ดังนี้ ยอมรับให้ตีพิมพ์โดยไม่มีการแก้ไข (Accept Submission) บทความมีการแก้ไข (Revisions Required) และ ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ (Decline Submission) </p> <p><strong>ปัจจุบันวารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong></p> th-TH <p>ลิขสิทธิ์ของวารสาร</p> <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ<br />บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น</p> jeit@ksu.ac.th (Dr.Sarayut Thitapas) savalee.ut@ksu.ac.th (Dr.Savalee Uttra ) Wed, 30 Oct 2024 22:55:44 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งสำหรับการบริหารจัดการงานภาคเกษตร https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3251 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งสำหรับการบริหารจัดการงานภาคเกษตรให้สำเร็จ โดยนำเสนอบทบาทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งสำหรับการบริหารจัดการงานภาคการเกษตรในอดีตและปัจจุบัน รวมไปถึงตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งในพื้นที่ทางการเกษตรขนาดเล็กในโรงเรียนในประเทศไทยและการทำฟาร์มอัจฉริยะในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีบริบทการทำเกษตรกรรมเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดตั้งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งสำหรับการบริหารจัดการงานภาคเกษตรให้สำเร็จ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานภาคการเกษตรให้สำเร็จ ได้แก่ นโยบายภาครัฐ บุคลากร งบประมาณ เวลา และสถานที่ โดยเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมพัฒนางานภาคเกษตรสู่อนาคตด้วยการบริหารจัดการงานโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อส่งเสริมรายได้ที่มั่นคงของเกษตรกรต่อไป</p> Aloun Thammakot, Latdalay Silamay, วิจิตรา โพธิสาร, ธงชัย เจือจันทร์, Thongchalern Xaysongkham Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3251 Wed, 30 Oct 2024 00:00:00 +0700 การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษขี้ยางพาราด้วยการไพโรไลซิส https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3248 <p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษขี้ยางพาราด้วยการไพโรไลซิส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิ 3 ระดับ คือ 300 350 และ 400 องศาเซลเซียส ที่ส่งผลต่อปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง จากนั้นทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลแบบสูบเดียวขนาด 10.5 แรงม้า เพื่อหาสมรรถนะเครื่องยนต์ ผลวิจัย พบว่า อุณหภูมิไพโรไลซิส 300 องศาเซลเซียส มีปริมาณผลได้ของน้ำมันเชื้อเพลิงสูงสุดร้อยละ 70 โดยน้ำหนัก ขณะที่อุณหภูมิไพโรไลซิส 400 องศาเซลเซียส มีปริมาณผลได้ของน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำสุดร้อยละ 49 โดยน้ำหนัก เมื่อวิเคราะห์สมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากอุณหภูมิไพโรไลซิส 300 องศาเซลเซียส มีค่าความร้อนสูงสุด 39.1 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ความหนาแน่นสูง ความหนืดต่ำ และปริมาณเถ้าต่ำสุดร้อยละ 0.6 โดยน้ำหนัก ขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากอุณหภูมิไพโรไลซิส 400 องศาเซลเซียส มีค่าความร้อนต่ำสุด 32 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ความหนาแน่นสุง ความหนืดสูง และปริมาณเถ้าสูงสุดร้อยละ 1.6 โดยน้ำหนัก หลังการทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ พบว่า น้ำมันเชื้อเพลิงที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส มีแรงม้าเบรกสูงสุด 10.1 แรงม้า และอัตราการสิ้นเปลืองจำเพาะเบรกต่ำสุด 1.0 กิโลกรัม/กิโลวัตต์ชั่วโมง น้ำมันเชื้อเพลิงที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เครื่องยนต์มีแรงม้าเบรกลดลง อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น จึงสรุปได้ว่าอุณหภูมิไพโรไลซิส 300 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษขี้ยางพาราด้วยการ ไพโรไลซิสและควรต่อยอดงานวิจัยนี้เพื่อขยายผลสู่การใช้งานจริงต่อไป</p> วัชรพล พาณิชย์, อภิชิต สิงห์สถิต, โชคชัย ศรียากุล, พิษณุ โพธิ์หล้า, สุรศักดิ์ เขตสถาน, ทองสุข พามี, ชินภัทร ธุระการ, กัมปนาท ไชยเพชร, เกยูร ดวงอุปมา Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3248 Wed, 30 Oct 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบและศึกษาประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศโดยใช้เทอร์โมอิเล็กทริก เพื่อใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าแบบเปิด https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3258 <p>การวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศโดยใช้แผ่นเพลเทียร์ ในยานยนต์ไฟฟ้าแบบเปิด สร้างความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร การทดลองดำเนินการในสภาวะอากาศ ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว โดยใช้การเก็บข้อมูลอุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และการใช้พลังงานของระบบ การวิเคราะห์ความน่าสบายพบว่า ในฤดูร้อนระบบสามารถทำให้อุณหภูมิลมจากพัดลมต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศ 5 องศาเซลเซียส ในขณะที่ฤดูฝนและฤดูหนาวสามารถลดอุณหภูมิได้ 3 ถึง 4 องศาเซลเซียส ผู้โดยสารที่นั่งห่างจากพัดลมประมาณ 0.5 เมตร จะรู้สึกสบายในฤดูร้อนและฤดูฝน แต่ในฤดูหนาวรู้สึกเย็นเล็กน้อย ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศนี้มีค่าระหว่าง 0.0196 ถึง 0.0303 ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการศึกษาระบบทำความเย็นเทอร์โมอิเล็กทริกแบบสองขั้น ที่มีการปรับปรุงเรขาคณิตและควบคุมกระแสเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของระบบอยู่ในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.04 งานวิจัยนี้ศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์โดยใช้การทำความเย็นด้วยเทอร์โมอิเล็กทริกพบว่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานอยู่ที่ประมาณ 0.025 ถึง 0.035 ซึ่งค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเทอร์โมอิเล็กทริกจะมีค่าต่ำกว่าระบบทำความเย็นแบบคอมเพรสเซอร์และแบบดูดซึม ที่ใช้สารทำความเย็น R134a มีค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานอยู่ที่ 3.0 ถึง 3.5 อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกนี้มีข้อดี คือ ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหว ไม่มีเสียงดัง มีขนาดเล็ก สามารถแยกการทำงานแต่ละเครื่องได้อย่างอิสระ ซึ่งทำให้เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่จำกัด การใช้งานอุปกรณ์ในที่ต้องการความเงียบสงบ การบำรุงรักษาต่ำ</p> เฉลิมชาติ เมฆเมืองทอง, สมชาย แสงนวล, ชลธิศ ปิติภูมิสุขสันต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3258 Wed, 30 Oct 2024 00:00:00 +0700 การหาค่าปัจจัยที่เหมาะสมในการเชื่อมความต้านทานแบบจุดสำหรับเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ด้วยการออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลแบบสามระดับ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3280 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อค่าแรงดึงของการเชื่อมความต้านทานแบบจุดสำหรับเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี โดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลสามระดับ ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อค่าแรงดึง ประกอบด้วยกระแสไฟฟ้าและระยะการเชื่อมจุดแบบในระยะแกน Dy เป็นการทดลองรูปแบบที่ 1 และกระแสไฟฟ้าและระยะการเชื่อมจุดแบบในระยะแกน Dx เป็นการทดลองรูปแบบที่ 2 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าค่ากระแสไฟฟ้าและระยะการเชื่อมมีผลกระทบต่อค่าแรงดึงของชิ้นงานทดสอบและมีความแข็งแรงของจุดเชื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยการทดสอบความเป็นปกติและการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ (Minitab Version 18) และพบว่าค่าที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้แรงดึงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รูปแบบที่ 1 มีค่ากระแสไฟฟ้า 600 แอมป์ และระยะเชื่อมที่ 5 มิลลิเมตร มีค่าแรงดึง 72.6852 กิโลนิวตันต่อตารางมิลลิเมตร และรูปแบบที่ 2 มีค่ากระแสไฟฟ้า 1800 แอมป์ และระยะเชื่อมที่ 15 มิลลิเมตร มีค่าแรงดึง 44.7037 กิโลนิวตันต่อตารางมิลลิเมตร วิธีการนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการหาปัจจัยที่เหมาะสมกรณีที่มีผลตอบสนองเพียงค่าเดียว และช่วยลดการลองผิดลองถูกจากการปรับตั้งค่าของปัจจัย</p> ศุภกิจ เศิกศิริ, อามิณฑ์ หล้าวงศ์, วิชยุทธ จันทะรี, อุทัย ธารพรศรี, ไทยทัศน์ สุดสวนสี, ปิยณัฐ โตอ่อน Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3280 Wed, 30 Oct 2024 00:00:00 +0700 การคัดแยกคุณภาพของปลาตะเพียนขาวด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึกและแชทบอทสำหรับการวิเคราะห์ภาพถ่าย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3287 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ไขข้อจำกัดของการคัดแยกคุณภาพปลาตะเพียนขาวด้วยสายตามนุษย์ ซึ่งมีความแม่นยำจำกัดและไม่สม่ำเสมอ โดยพัฒนาโมเดลการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกคุณภาพปลาโดยอาศัยการวิเคราะห์ภาพถ่าย โมเดลที่ใช้คือโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (CNN) ที่ถูกฝึกด้วยชุดข้อมูลภาพถ่ายจำนวน 700 ภาพที่เก็บรวบรวมในระยะเวลา 7 วัน โดยมีการใช้ตัวเพิ่มประสิทธิภาพ ADAM ในการปรับพารามิเตอร์ระหว่างการฝึก เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการจำแนกภาพ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาแชทบอทผ่านแอปพลิเคชัน Line เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบคุณภาพปลาแบบเรียลไทม์ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โมเดลที่พัฒนาสามารถจำแนกคุณภาพปลาได้ด้วยความแม่นยำสูงถึงร้อยละ 98.12 ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการประมงได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> อัจฉรา ชุมพล, สรายุทธ กรวิรัตน์, รณชัย สังหมื่นเม้า, นรงค์ วิชาผา, ปริชาติ เบอร์ขุนทด, แพรวา สีกาลุน, ภัทรพล เภาวะริต Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3287 Wed, 30 Oct 2024 00:00:00 +0700