วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT <p><strong>วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์</strong><br /><strong>Journal of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University</strong></p> <p><strong>ISSN 2985-0274 (Print)<br />ISSN 2985-0282 (Online)</strong></p> <p>เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย รับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>วารสารได้ถูกจัดให้เป็น วารสารกลุ่มที่ 2 (TCI Tier 2)</strong><br />โดย ศูนย์ TCI ให้คำรับรองคุณภาพวารสาร ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค 68 - 31 ธ.ค 72</p> <p>วารสารมีวาระออกปีละ 6 ฉบับ ได้แก่ <br />ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ <br />ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน <br />ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 4 กรกฏาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม<br />ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม</p> <p>ขอบเขตของวารสาร ดังนี้<br />- วิศวกรรมทั่วไป (General Engineering)<br />- วิศวกรรมอุตสาหการและวิศวกรรมการผลิต (Industrial and Manufacturing Engineering)<br />- วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)<br />- เทคโนโลยีสื่อและประยุกต์ใช้ (Media Technology and Application)<br />- สถาปัตยกรรม (Architecture)</p> <p>บทความที่ส่งเข้ามายังวารสารจะได้รับการประเมินคุณภาพของผลงานทางวิชาการโดยหัวหน้ากองบรรณาธิการ (Editor in Chief) ถ้าบทความมีคุณภาพที่อาจได้รับการตีพิมพ์ หัวหน้ากองบรรณาธิการจะมอบหมายให้บรรณาธิการประจำเรื่อง(Section editor) เป็นผู้พิจารณาและดำเนินการส่งบทความให้ผู้ประเมินบทความ (Peer reviewers) ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ซึ่งบทความที่ถูกส่งไปยังผู้ประเมินจะเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ และผู้ประเมิน (Double -Blinded Review) เมื่อผู้ประเมินบทความส่งข้อคิดเห็นมายังบรรณาธิการประจำเรื่อง บทความที่ถูกประเมินจะได้รับการตัดสินใจจากกองบรรณาธิการโดยอาศัยความคิดเห็นของผู้ประเมินเสียงข้างมาก ดังนี้ ยอมรับให้ตีพิมพ์โดยไม่มีการแก้ไข (Accept Submission) บทความมีการแก้ไข (Revisions Required) และ ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ (Decline Submission) </p> <p><strong>ปัจจุบันวารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong></p> Faculty of Engineering and Industrial Technology th-TH วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2985-0274 <p>ลิขสิทธิ์ของวารสาร</p> <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ<br />บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น</p> การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษจากฟางข้าวด้วยวิธีทางกลร่วมกับวิธีทางชีวภาพ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3648 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาขั้นตอนการผลิตกระดาษจากฟางข้าวโดยใช้วิธีทางกลร่วมกับวิธีทางชีวภาพ และศึกษาคุณสมบัติกระดาษจากฟางข้าวที่ได้มาจากกระบวนการผลิต โดยจะมีการเลือกฟางข้าวของต้นข้าวสองชนิดคือข้าวหอมมะลิ กข15 และข้าวเหนียวเขี้ยวงู มาทดสอบทำเยื่อกระดาษด้วยวิธีทางกล ได้แก่ การบดสับด้วยเครื่องจักร และการต้มในถังแรงควบคุมแรงดันที่มีการออกแบบและสร้างขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยใช้อุณหภูมิในการต้ม 140 องศาเซลเซียส ความดัน 361 กิโลปาสคาล เพื่อลดเวลาและประหยัดเชื้อเพลิงในการต้มเยื่อกระดาษในส่วนวิธีทางชีวภาพจะนำฟางข้าวมาหมักกับน้ำที่มีสารจุลินทรีย์ย่อยสลาย พด.2 จากนั้นนำเยื่อฟางที่ได้ไปขึ้นรูปเป็นกระดาษและนำไปทดสอบหาคุณสมบัติ หลังการทดสอบพบว่า ฟางข้าวจากข้าวหอมมะลิ กข15 สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษจากฟางได้ดีกว่า เนื่องจากให้ปริมาณเยื่อกระดาษได้มากกว่า เมื่อนำฟางข้าวไปผ่านขั้นตอนทางกลและนำไปแช่ ในน้ำที่มีเชื้อจุลินทรีย์ พด2. เป็นเวลา 30 วัน จะสามารถนำไปต้มในถังควบคุมแรงดันเป็นเวลา 30 นาที ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถลดเวลาการต้มเยื่อฟางได้ดีกว่าวิธีการผลิตด้วยสารโซดาไฟจึงทำให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่า โดยที่ความยาวของเส้นใยเยื่อฟางข้าวที่เหมาะจะใช้ที่ขนาด 33.4 มิลลิเมตร น้ำหนักเยื่อกระดาษ 45 กรัม ความหนากระดาษ 0.33 มิลลิเมตร และใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นตัวปรับปรุงคุณภาพกระดาษจะทำให้ความต้านทานแรงดึงของกระดาษมากที่สุด 142.1 นิวตัน มีดัชนีต้านทานแรงดึง 58.42 นิวตันเมตรต่อกรัม เพิ่มมากขึ้นแต่การซับน้ำลดลงเหลือร้อยละ 75.58 ซึ่งมีคุณสมบัติเพียงพอต่อการนำไปพัฒนาอัดขึ้นรูปไปเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารได้</p> ภักดี สิทธิฤทธิ์กวิน ไพทูรย์ ยศกาศ ฤทธิชัย บุญทาศรี Copyright (c) 2025 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-28 2025-02-28 3 1 1 15 10.14456/jeit.2025.1 การปรับปรุงประสิทธิภาพของเทคนิค Weighted Aggregated Sum Product Assessment โดยใช้ Gibbs Entropy สำหรับการแก้ปัญหาการตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3665 <p>การตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ (Multi-Criteria Decision Making: MCDM) เป็นแนวทางสำคัญที่ใช้ในกระบวนการตัดสินใจที่มีปัจจัยหลายด้าน โดยได้รับความนิยมในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรม การจัดการ และโลจิสติกส์ เทคนิค Weighted Aggregated Sum Product Assessment (WASPAS) เป็นหนึ่งในเทคนิค MCDM ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากสามารถผสานจุดแข็งของ Weighted Sum Model (WSM) และ Weighted Product Model (WPM) อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของ WASPAS คือ การกำหนดค่าพารามิเตอร์ <em><img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\lambda&amp;space;" alt="equation" /> </em>เท่ากับ 0.5 เป็นค่าคงที่ ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำของการจัดอันดับตัวเลือก งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางใหม่โดยใช้ Gibbs Entropy เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของพารามิเตอร์ <em><img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\lambda&amp;space;" alt="equation" /> </em>และใช้ค่าเอนโทรปีเป็นตัวชี้วัดในการจัดลำดับทางเลือก โดยทำการทดสอบกับปัญหาการเลือกเครื่องกลึง CNC (Computer Numerical Control Lathe) ผลการทดลองพบว่าวิธี ที่นำเสนอมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (<em>r</em>) สูงมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับ WASPAS (<em>r</em> =1.000) และ COPRAS (<em>r</em> = 0.937) แสดงให้เห็นว่าวิธีที่นำเสนอมีความน่าเชื่อถือสูงและให้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวิธีมาตรฐาน งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหา MCDM ที่ต้องการพิจารณาผลกระทบของพารามิเตอร์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความน่าเชื่อถือในการตัดสินใจยิ่งขึ้น</p> นรงค์ วิชาผา อนุชา ศรีบุรัมย์ Copyright (c) 2025 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-28 2025-02-28 3 1 16 29 10.14456/jeit.2025.2 การเปรียบเทียบการจัดเส้นทางการขนส่งด้วยวิธีอัลกอริทึมแบบประหยัดและวิธีเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด: กรณีศึกษาโรงน้ำดื่มภูเพชร อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3675 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดเส้นทางรูปแบบเดิมและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดเส้นทางรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ การดำเนินการวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลเส้นทางขนส่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จากนั้นทำการวิเคราะห์และคำนวณเส้นทางโดยใช้วิธีอัลกอริทึมแบบประหยัดและวิธีการเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาเปรียบเทียบกัน จากผลการวิจัยพบว่า ในการจัดเส้นทางการขนส่งน้ำดื่มในหนึ่งสัปดาห์ โดยเส้นทางรูปแบบเดิมมีจำนวนเส้นทาง 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 413.1 กิโลเมตร และต้นทุนรวมในการขนส่ง 1,659.84 บาทต่อสัปดาห์ ขณะเดียวกันการใช้อัลกอริทึมแบบประหยัดสามารถลดจำนวนเส้นทางลงเหลือ 12 เส้นทาง ระยะทางรวมลดลงเหลือ 333 กิโลเมตร และต้นทุนรวมในการขนส่ง 1,459.17 บาทต่อสัปดาห์ ส่วนวิธีเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดสามารถลดจำนวนเส้นทางลงเหลือ12 เส้นทาง ระยะทางรวมลดลงเหลือ 354 กิโลเมตร และต้นทุนรวมในการขนส่ง 1,652.41 บาทต่อสัปดาห์</p> ขวัญข้าว สามารถกุล ศิรินทรา ทิพย์เนตร อฐิติยา นิมาลา พัลลภ พรมสาเพ็ชร วนิตา บุญโฉม วาสนา พ่วงพรพิทักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-28 2025-02-28 3 1 30 41 10.14456/jeit.2025.3 การออกแบบและพัฒนาเครื่องบรรจุดินปลูกอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3682 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตดินปลูกโดยการสร้างเครื่องบรรจุดินปลูกอัตโนมัติ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้เทคนิคการศึกษางานในการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิตดินปลูก โดยที่กระบวนการผลิตเดิมประกอบด้วย 11 ขั้นตอน ใช้เวลารวม 80 นาที มีระยะทางเคลื่อนที่ 6 เมตร และใช้แรงงานทั้งหมด 4 คน ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นกระบวนการผลิตรูปแบบเดิม ในงานวิจัยนี้มีขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มจากศึกษากระบวนการทำงานด้วยเทคนิคการศึกษางานและเทคนิค ECRS ร่วมกับการใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) สำหรับนำมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตดินปลูก และออกแบบเครื่องบรรจุดินปลูกอัตโนมัติ ให้สามารถลดขั้นตอนการทำงาน ลดเวลา และเพิ่มกำลังการผลิตได้ จนนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตดินปลูกที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ผลจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตพบว่า เครื่องบรรจุอัตโนมัติที่ออกแบบตามหลักการ ECRS ร่วมกับ QFD สามารถลดขั้นตอนการผลิตลงเหลือเพียง 6 ขั้นตอน โดยใช้เวลาเพียง 35 นาที ทำให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตเดิมโดยไม่มีเครื่องบรรจุอัตโนมัติ แนวทางที่นำเสนอนี้สามารถพัฒนาเครื่องบรรจุดินปลูกระบบอัตโนมัติให้สามารถตอบโจทย์ด้านคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า</p> ปิยณัฐ โตอ่อน รัชฎา แต่งภูเขียว อามิณฑ์ หล้าวงศ์ มัลลิกา ธีระกุล Copyright (c) 2025 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-28 2025-02-28 3 1 42 57 10.14456/jeit.2025.4 การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยหลักการลดความสูญเปล่า ECRS: กรณีศึกษา กระบวนการผลิตขาธงญี่ปุ่นตั้งป้ายไวนิล https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3689 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตขาธงญี่ปุ่นตั้งป้ายไวนิลโดยใช้หลักการลดความสูญเปล่า ECRS เพื่อลดเวลาและระยะทางในการผลิต รวมถึงกำหนดกระบวนการมาตรฐาน ซึ่งเริ่มต้นจากการศึกษากระบวนการผลิตในปันจุบันด้วยแผนภูมิกระบวนการไหลและแผนภาพไดอะแกรม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหารากที่แท้จริงของปัญหาโดยการระดมสมองร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านแผนภูมิก้างปลา จากนั้นระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมาตรฐาน การเปรียบเทียบผลการวิจัยจะพิจารณาถึงจำนวนขั้นตอนการปฏิบัติงาน เวลา และระยะทางที่ลดลง ผลการวิจัยแสดงว่า กระบวนการผลิตก่อนการปรับปรุงมี 39 ขั้นตอน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง 4 นาที 29 วินาที และระยะทาง 176 เมตร หลังการปรับปรุง จำนวนขั้นตอนลดลงเหลือ 29 ขั้นตอน ใช้เวลา 8 ชั่วโมง 45 นาที 7 วินาที และระยะทาง 127.5 เมตร นั่นคือ สามารถลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 25.64 เวลาในการผลิตลดลงร้อยละ 27.52 และระยะทางลดลงร้อยละ 27.56 จึงสรุปว่าการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยหลักการลดความสูญเปล่า ECRS สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสม</p> สุภาพร แสนกุล ณัฏฐ์ดนัย สุพัฒน์ธนานนท์ เจษฏา แจ่มแสง วัชรพล แสงดานุช เตวิช รุ่งนภากานต์ นราธิป สุพัฒน์ธนานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-28 2025-02-28 3 1 58 70 10.14456/jeit.2025.5