https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/issue/feed วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2024-12-31T07:06:05+07:00 Dr.Sarayut Thitapas jeit@ksu.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์</strong><br /><strong>Journal of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University</strong></p> <p><strong>ISSN 2985-0274 (Print)<br />ISSN 2985-0282 (Online)</strong></p> <p>เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย รับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>วารสารมีวาระออกปีละ 6 ฉบับ ได้แก่ <br />ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ <br />ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน <br />ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 4 กรกฏาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม<br />ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม</p> <p>ขอบเขตของวารสาร ดังนี้<br />- วิศวกรรมทั่วไป (General Engineering)<br />- วิศวกรรมอุตสาหการและวิศวกรรมการผลิต (Industrial and Manufacturing Engineering)<br />- วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)<br />- เทคโนโลยีสื่อและประยุกต์ใช้ (Media Technology and Application)<br />- สถาปัตยกรรม (Architecture)</p> <p>บทความที่ส่งเข้ามายังวารสารจะได้รับการประเมินคุณภาพของผลงานทางวิชาการโดยหัวหน้ากองบรรณาธิการ (Editor in Chief) ถ้าบทความมีคุณภาพที่อาจได้รับการตีพิมพ์ หัวหน้ากองบรรณาธิการจะมอบหมายให้บรรณาธิการประจำเรื่อง(Section editor) เป็นผู้พิจารณาและดำเนินการส่งบทความให้ผู้ประเมินบทความ (Peer reviewers) ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ซึ่งบทความที่ถูกส่งไปยังผู้ประเมินจะเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ และผู้ประเมิน (Double -Blinded Review) เมื่อผู้ประเมินบทความส่งข้อคิดเห็นมายังบรรณาธิการประจำเรื่อง บทความที่ถูกประเมินจะได้รับการตัดสินใจจากกองบรรณาธิการโดยอาศัยความคิดเห็นของผู้ประเมินเสียงข้างมาก ดังนี้ ยอมรับให้ตีพิมพ์โดยไม่มีการแก้ไข (Accept Submission) บทความมีการแก้ไข (Revisions Required) และ ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ (Decline Submission) </p> <p><strong>ปัจจุบันวารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong></p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3298 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันนับบัณฑิตเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2024-10-24T21:10:24+07:00 นพัสสร เค็มกระโทก napassorn.ke@rmuti.ac.th เพ็ญนภา ทุมสันเทียะ phennapha.th@rmuti.ac.th นิธิ เกิดมงคล niti.ge@rmuti.ac.th เอกชัย แซ่จึง ekkachai@sci.rmuti.ac.th <p>มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นประจำทุกปี ฝ่ายสถิติการนับบัณฑิตมีบทบาทสำคัญในการจัดการข้อมูลและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามระบบเดิมที่ใช้โปรแกรมตารางคำนวณซึ่งมีข้อจำกัด เช่น ความล่าช้า ความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล และไม่รองรับการใช้งานแบบแบบทันที งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการนับบัณฑิตที่มีความรวดเร็ว แม่นยำ และรองรับการใช้งานร่วมกันของหลายฝ่ายในเวลาเดียวกัน ระบบถูกพัฒนาด้วย Next.js และ MySQL ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ออกแบบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ ระบบนับบัณฑิตที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ลดความยุ่งยากจากการต้องพึ่งพาไฟล์การคำนวณแบบเดิม ส่งผลให้การจัดการข้อมูลมีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ระบบยังรองรับการใช้งานแบบแบบทันที ทำให้ฝ่ายงานต่าง ๆ สามารถดูข้อมูลสถานะบัณฑิตได้ทันที โดยไม่ต้องรอการอัปเดตจากฝ่ายใด ผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง 5 คน พบว่า ระบบมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก โดยได้คะแนนเฉลี่ย 4.53 จาก 5.00 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ระบบช่วยเพิ่มความถูกต้องและความรวดเร็วในการจัดการข้อมูล รวมถึงรองรับการประสานงานระหว่างหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3388 การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าคลุมไหล่ทอมือพิมพ์สีธรรมชาติเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดความสูญเปล่าด้วยการประยุกต์แผนผังสายธารแห่งคุณค่า 2024-12-17T13:55:13+07:00 ณัฐนิชา วิชาชัย arjaree.sa@ksu.ac.th ธัญยกาญจน์ สุพร arjaree.sa@ksu.ac.th สิรินาถ จอมทรักษ์ arjaree.sa@ksu.ac.th อาจารี แสงเสถียร arjaree.sa@ksu.ac.th ปิยณัฐ โตอ่อน piyanat.to@gmail.com <p>การวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษากระบวนการผลิตผ้าคลุมไหล่ทอมือพิมพ์สีธรรมชาติ (ECO PRINT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขั้นตอนการผลิตและพัฒนาแนวทางในการลดความสูญเปล่า รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนาม ณ บ้านดงน้อย หมู่ 5 ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แผนภูมิกระบวนการผลิตและแผนผังสายธารแห่งคุณค่าเป็นเครื่องมือหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการผลิตแบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญ ได้แก่ การทอผ้าฝ้าย 7 ขั้นตอน ใช้เวลารวมเฉลี่ย 761 นาทีต่อรอบ และการพิมพ์ลวดลายสีธรรมชาติ 24 ขั้นตอน ใช้เวลารวมเฉลี่ย 405.6 นาทีต่อรอบ การจับเวลาและวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนดำเนินการผ่านการวิเคราะห์รอบการผลิต 5 รอบ ผลการวิเคราะห์ระบุถึงความสูญเปล่าหลักที่พบในกระบวนการ ได้แก่ การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และการรอคอย ซึ่งสามารถปรับปรุงได้โดยการจัดการพื้นที่ทำงาน การใช้เทคโนโลยีสนับสนุน เช่น เครื่องมือจัดเก็บและระบบอัตโนมัติ และการจัดการเวลาในกระบวนการผลิต แนวทางเหล่านี้ช่วยลดเวลาการผลิตได้ถึงร้อยละ 5.2 และลดระยะทางการเคลื่อนไหวลงร้อยละ 40 ส่งผลให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความสูญเปล่า และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ECO PRINT อย่างยั่งยืน</p> <p> </p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3474 การประยุกต์ใช้วิธี Fuzzy VIKOR ในการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่ 2024-12-18T14:51:44+07:00 สมศักดิ์ ทองแก้ว pariwat@techno.rru.ac.th ศักดิ์ชัย หงษ์ทอง pariwat@techno.rru.ac.th ปริวรรต นาสวาสดิ์ pariwat@techno.rru.ac.th ณัฐภัทร กาญจนเรืองรอง pariwat@techno.rru.ac.th วีระพล ทับทิมดี pariwat@techno.rru.ac.th กฤษณะ ช่องศรี pariwat@techno.rru.ac.th <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้วิธี Fuzzy VIKOR เป็นเทคนิคการตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ เพื่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่ที่เหมาะสมที่สุด โดยเริ่มจากการกำหนดเกณฑ์ตัดสินใจจำนวน 5 เกณฑ์ ได้แก่ ต้นทุนการผลิต (C1) การตลาด (C2) การสนับสนุนจากภาครัฐวิจัยและนวัตกรรม (C3) ความร่วมมือระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการ (C4) และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (C5) กำหนดทางเลือก 8 ทางเลือก ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน (A1) เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง (A2) เครื่องมือและอุปกรณ์ (A3) งานหัตถกรรมและของที่ระลึก (A4) ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (A5) ผลิตภัณฑ์ในงานก่อสร้าง (A6) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม (A7) และผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม (A8) การประเมินใช้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่า ทางเลือก (A5) เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดมีค่า <em>S<sub>i</sub></em> = 0.00, <em>R<sub>i</sub></em> = 0.00 <em>Q<sub>i</sub></em> = 0.00 ต่ำที่สุด ทางเลือก (A8) มีค่า <em>S<sub>i</sub></em> = 0.97 <em>R<sub>i</sub></em> = 1.34 <em>Q<sub>i</sub></em> = 0.36 และ ทางเลือก (A7) มีค่า <em>S<sub>i</sub></em> = 0.81, <em>R<sub>i</sub></em> = 1.66 <em>Q<sub>i</sub></em> = 0.45 ตามลำดับ ส่วนทางเลือกที่เหมาะสมน้อยที่สุดคือ (A6) มีค่า <em>S<sub>i</sub></em> = 0.97, <em>R<sub>i</sub></em> = 3.79 <em>Q<sub>i</sub></em> = 1.00 ผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สามารถประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT/article/view/3451 ปัจจัยที่มีผลต่อการหมักก๊าซชีวภาพแบบไร้ออกซิเจนจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย 2024-12-19T07:57:05+07:00 นพดล ยุบลชู thaithat.su@ksu.ac.th ภากร งามแสง thaithat.su@ksu.ac.th ไทยทัศน์ สุดสวนสี thaithat.su@ksu.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการหมักก๊าซชีวภาพจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย โดยดำเนินการทดลองด้วยอัตราส่วนของกากมันสำปะหลังต่อน้ำเสีย 5 แบบ ได้แก่ 1:1, 2:1, 3:1, 1:2 และ 1:3 ผลการวิเคราะห์ ANOVA แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนดังกล่าวมีผลต่อปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้น โดยพบว่าอัตราส่วน 1:3 ให้ผลผลิตก๊าซสูงสุด โดยมีปริมาณการผลิตเฉลี่ย 8.81 ลิตรในวันที่ 13 ในขณะที่อัตราส่วน 1:2 มีปริมาณการผลิต 6.17 ลิตร ส่วนอัตราส่วน 1:1, 2:1 และ 3:1 มีปริมาณการผลิตต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ได้ทำการทดลองเพิ่มเติมในถังหมักขนาด 80 ลิตร ด้วยการใช้สัดส่วน 1:3 โดยศึกษาผลกระทบของความเร็วรอบการกวน 45 และ 110 รอบต่อนาที พบว่าความเร็วรอบ 110 รอบต่อนาทีช่วยเพิ่มการกระจายตัวของจุลินทรีย์และสารอาหารในถังหมัก ทำให้จุลินทรีย์สามารถเข้าถึงสารอาหารได้อย่างทั่วถึง และลดการสะสมของสารยับยั้ง เช่น กรดไขมันที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมัก ส่งผลให้การผลิตก๊าซเริ่มต้นในวันที่ 5 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 13 โดยมีปริมาณสะสมสูงสุด 45.14 ลิตร ขณะที่ความเร็วรอบ 45 รอบต่อนาทีเริ่มผลิตก๊าซในวันที่ 7 และมีปริมาณสะสมสูงสุดเพียง 21.58 ลิตร ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าอัตราส่วน 1:3 และความเร็วรอบ 110 รอบต่อนาทีเหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพจากกากมันสำปะหลังและน้ำเสีย ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพในอนาคต</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์