วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC <p>คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่น กำหนดออกวารสารฉบับออนไลน์รายหกเดือน ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม และจัดพิมพ์รูปเล่มรายปี ภายใต้ชื่อ “วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม” เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่บทความและงานวิจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงงานวิจัยสหวิทยาการและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคลอบคลุมเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐาน การประยุกต์ จนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การทดลอง การออกแบบหรือการพัฒนาอุปกรณ์ รวมถึงการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถูกกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบ double blind peer review โดยพิจารณางานจากความคิดสร้างสรรค์ ความใหม่ คุณภาพของการเขียนบรรยายและผลการทดลองที่แสดงให้เห็นการค้นพบแบบมีนัยสำคัญ</p> <p>ISSN 2822-129X (Print)</p> <p>ISSN 2985-0207 (Online)</p> th-TH jeir.eng.rmuti@gmail.com (Assoc. Prof. Dr. Wichein Sang-aroon) jeir.eng.rmuti@gmail.com (Mrs. Praweena Nueangrin ) Thu, 28 Dec 2023 15:13:39 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 อิทธิพลทางการศึกษาของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่มีต่อเทคนิคศึกษาของประเทศไทย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/1192 <p>ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถือว่าเป็นลักษณะหนึ่งของสังคมโลกที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนอกจากจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางด้านการฑูตแล้วยังทำให้การพัฒนาในมิติอื่นด้วยเช่น มิติทางด้านเศรษฐกิจ มิติทางด้านสังคมและมิติทางด้านการศึกษาด้วย จากประวัติศาสตร์จะเห็นว่าประเทศไทยได้มีความสัมพันธ์กับประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเวลานาน ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีและด้านการศึกษา ในด้านการศึกษาจะเห็นได้ว่าศึกษาของประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีถือว่าเป็นอีกหนึ่งต้นแบบที่หลายประเทศนำไปประยุกต์และปรับใช้ สำหรับความสัมพันธ์ของทั้งสองนี้ในด้านเทคนิคศึกษานั้นจะมีด้านการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านการพัฒนาการเรียนรู้รวมทั้งการให้ทุนส่งเสริมการเรียนการสอนและการให้ทุนวิจัย นอกจากนี้อิทธิพลทางการศึกษาของประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีอีกลักษณะหนึ่งคือการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีต่อคนไทยที่อาศัยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี</p> ธงชัย สมบูรณ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/1192 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาอิทธิพลของการอบแห้งของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ซีพี 888 ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/325 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ซีพี 888 โดยใช้ไฟฟ้าและแสงอาทิตย์ ศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมได้แก่ ความชื้น และ อุณหภูมิ ที่มีต่อการอบข้าวโพดแบบทั้งฝัก โดยมีความชื้นเริ่มต้นประมาณ 25-20% มาตรฐานเปียก อบจนกระทั่งความชื้นสุดท้ายประมาณ 14% มาตรฐานเปียก ควบคุมอุณหภูมิอบแห้ง 40 50 และ 60 องศาเซลเซียส และควบคุมความเร็วลม 1 เมตรต่อวินาที อย่างไรก็ดีในกรณีที่ใช้แสงอาทิตย์อย่างเดียวจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิ และความเร็วลมได้ ซึ่งระบบไฮบริดจะเริ่มทางานก็ต่อเมื่ออุณหภูมิในห้องอบต่ากว่าอุณหภูมิที่กาหนด ผลการทดลองพบว่า ที่อุณหภูมิอบแห้ง 40 50 และ 60 องศา เซลเซียส ใช้เวลาอบแห้งเฉลี่ย 293 244 และ 160 นาที ตามลาดับ ผลวิเคราะห์ พบว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอบแห้งส่งผลให้ระยะเวลาในการอบแห้งลดน้อยลง ถึงแม้ความชื้นเริ่มต้นจะต่างกันเพียงเล็กน้อย</p> อรุชา คุณเจริญหิรัญ Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/325 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การลดของเสียประเภทโฟมนิ่มในสายการผลิตเรือด้วยโฟมอีพีเอส กรณีศึกษา : บริษัทตัวอย่าง https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/590 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการลดของเสียประเภทโฟมนิ่มในสายการผลิตเรือด้วยโฟมอีพีเอสของบริษัทตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่าหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสียประเภทโฟมนิ่มเกิดจากกระบวนการนำโฟมอีพีเอสไปอบไอน้ำ ซึ่งปัจจัยการควบคุมเวลาในการอบไอน้ำในแม่พิมพ์โฟมอีพีเอสมีผลต่อความนิ่มและการเกาะตัวของเม็ดโฟม โดยการใช้คนควบคุมการผลิตในกระบวนการอบไอน้ำส่งผลต่อโอกาสการเกิดความผิดพลาดกับคุณภาพของโฟม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดของเสียประเภทโฟมนิ่ม ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ทำการหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนิ่มของโฟมอีพีเอส และออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการนำเครื่องอบไอน้ำแบบกึ่งอัตโนมัติแทนที่การอบไอน้ำด้วยคน จากการศึกษาพบว่าการกำหนดเวลามาตรฐานในการอบไอน้ำในแม่พิมพ์สามารถปรับปรุงคุณภาพของโฟมอีพีเอสได้ ตรงตามความต้องการ และกระบวนการนำเครื่องกึ่งอัตโนมัติมาใช้ปรับปรุงกระบวนการอบไอน้ำสามารถลดปัญหาโฟมนิ่มได้ 88%</p> ภูมิ จาตุนิตานนท์ Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/590 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างไฮบริดไฮเปอร์ไอดีลด้านเดียวและไฮบริดไบไฮเปอร์ไอดีลในกึ่งกรุปไฮเปอร์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/728 <p>แนวคิดของโครงสร้างไฮบริดที่ซึ่งเกิดจากการประกอบกันระหว่างซอฟต์เซตและเซตวิภัชนัยนำเสนอกรอบทางคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษานี้เราใช้โครงสร้างไฮบริดเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของไฮบริดไฮเปอร์ไอดีลบนกึ่งกรุปไฮเปอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจและสร้างการเชื่อมต่อระหว่างไฮบริดไฮเปอร์ไอดีลซ้าย (ขวา) และไฮบริดไบไฮเปอร์ไอดีลในกึ่งกรุปไฮเปอร์</p> จิรพงษ์ เมฆเวียน, Nareupanat Lekkoksung Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/728 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างแบบจำลองสนามแม่เหล็กของแหนบรับไฟแบบแขนเดียวในระบบส่งกำลังไฟฟ้าเหนือศีรษะ 25 kV สำหรับรถไฟฟ้าโดยใช้วิธีไฟไนท์อิลิเมนท์แบบ 3 มิติ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/1106 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของสนามแม่เหล็กของแหนบรับไฟแบบแขนด้านบนแขนเดียวในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ 25 กิโลโวลต์ สำหรับรถไฟ ซึ่งแสดงในรูปของสมการเชิงอนุพันธ์ย่อยอันดับสอง การจำลองผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ประยุกต์ใช้วิธีไฟไนท์อิลิเมนท์แบบ 3 มิติ ที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม MATLAB เพื่อให้ผลลัพธ์กราฟิกวิเคราะห์การแพร่กระจายของสนามแม่เหล็กบริเวณโดยรอบของแหนบรับไฟที่อยู่ในสถานะ Steady State ดังนั้นงานวิจัยได้จำลองการแพร่กระจายของสนามแม่เหล็กในโครงสร้างแหนบรับไฟแบบแขนด้านบนแขนเดียวได้วิเคราะห์การกระจายตัวของสนามแม่เหล็กของแหนบรับไฟที่มีหน้าสัมผัสเป็นวัสดุแกรไฟต์ และหน้าสัมผัสเป็นวัสดุทองเหลือง ซึ่งค่าสนามแม่เหล็กที่กระจายตัวภายใต้สายส่งตัวนำบริเวณกึ่งกลางของสายจะส่งผลกระทบต่อแหนบรับไฟมากที่สุด คือ 5.9840 ไมโครเทสลา, 5.7515 ไมโครเทสลา ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยทั้งแหนบรับไฟอยู่ที่ 0.0559 ไมโครเทสลา, 0.0501 ไมโครเทสลา ตามลำดับ สังเกตได้ว่าค่าเฉลี่ยและค่าสูงสุดของสนามแม่เหล็กของหน้าสัมผัสที่ทำมาจากวัสดุแกรไฟต์มีการกระจายตัวเฉลี่ยสูงกว่าหน้าสัมผัสที่ทำมาจากวัสดุทองเหลืองแต่ยังมีค่าที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นวัสดุแกรไฟต์และทองเหลืองมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาทดแทนในการทำหน้าสัมผัสของแหนบรับไฟได้</p> อารักษ์ บุญมาตย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/1106 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700