วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC <p>คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่น กำหนดออกวารสารฉบับออนไลน์รายหกเดือน ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม และจัดพิมพ์รูปเล่มรายปี ภายใต้ชื่อ “วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม” เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่บทความและงานวิจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงงานวิจัยสหวิทยาการและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคลอบคลุมเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐาน การประยุกต์ จนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การทดลอง การออกแบบหรือการพัฒนาอุปกรณ์ รวมถึงการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถูกกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบ double blind peer review โดยพิจารณางานจากความคิดสร้างสรรค์ ความใหม่ คุณภาพของการเขียนบรรยายและผลการทดลองที่แสดงให้เห็นการค้นพบแบบมีนัยสำคัญ</p> <p>ISSN 2822-129X (Print)</p> <p>ISSN 2985-0207 (Online)</p> Journal of Engineering and Innovative Research th-TH วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม 2822-129X The connection between hyperideals and hybrid hyperideals through their level sets and characteristic functions in hypersemigroups https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/3275 <p>While valuable in handling uncertainty, fuzzy and soft sets may sometimes prove inadequate for certain scenarios. By merging their respective strengths, leading to the advances of hybrid structures. These hybrid structures offer a robust framework for tackling uncertain problems effectively. In particular, they find application in studying hyperalgebraic structures, such as hypersemigroups. Traditionally, researchers have utilized hyperideals to explore the properties of hypersemigroups. However, our current study confirms this and provides a new perspective on the intricate relationship between hyperideals and hybrid hyperideals. By analyzing their level sets and characteristic functions, we clarify the connections between these two concepts and present an understanding of this field.</p> Jirapong Mekwien Nareupanat Lekkoksung Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 2 2 1 6 Solar photocatalytic oxidation of As3+ in aqueous solution by TiO2/SrCO3 and Ag.TiO2/SrCO3 composite photocatalysts https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/3463 <p>This work has observed and reported solar photocatalytic oxidation of AsIII in an aqueous solution by Ag-SrTiO<sub>3</sub>. The effect of pH, catalyst loading, initial concentration of As<sup>3+</sup>, and sacrificial reagent was investigated. The thermodynamics and kinetics of conversion of As<sup>3+</sup> to As<sup>5+</sup> were determined by the change in As<sup>3+</sup> concentration by utilizing UV-Vis spectrophotometry as a function of irradiation time. The observed kinetics of photocatalytic oxidation of As<sup>3+</sup> follows a pseudo-first-order kinetic model. The results showed a significant dependence of the photocatalytic oxidation of As<sup>3+ </sup>on the functional parameters.</p> อรนุช สมสีมี ภาคภูมิ หาญปรี วิเชียร แสงอรุณ จักรีวุฒิ เหมาะการ Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 2 2 21 30 การใช้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ : กรณีศึกษาความต้องการของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/3394 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาความต้องการเปรียบเทียบเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น 2) เปรียบเทียบความต้องการในการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 341 คน จากประชากร 3,001 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความต้องการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.23) แยกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านกายภาพ อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.66) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.57) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.31) และด้านบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.31) นักศึกษาชั้นปีต่างกันมีความต้องการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ไม่แตกต่างกัน และนักศึกษาต่างสาขาวิชามีความต้องการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ไม่แตกต่างกัน ปัญหาที่นักศึกษาพบคือ บางสาขาวิชามีห้องเรียนไม่เพียงพอ ชำรุด ไม่มีการปรับปรุง ห้องเรียนมีแสงสะท้อนทำให้มีปัญหาในการมองไม่ชัด ไม่เห็นตัวหนังสือ และควรเพิ่มจอทีวีกลางห้องสำหรับห้องที่มีนักศึกษาจำนวนมาก ห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอ และอาคารสำหรับฝึกปฏิบัติ หรือทดสอบไม่ควรอยู่กลางแจ้ง และอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติควรมีจำนวนเพียงพอกับผู้เรียน ควรมีห้องสมุดของคณะฯ ข้อเสนอแนะควรมีระบบสารสนเทศหรือโปรแกรมให้บริการดาวโหลดฟรี เพื่อใช้ในการเรียน เช่น PDF, Microsoft Office, Canva ควรมี 3D Printer ให้นักศึกษาใช้เพียงพอ บางสาขาวิชา wifi ช้ามาก ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และหลุดบ่อยครั้ง ควรปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> จิตฎาณพัชญ์ ตันติเศรณี Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 2 2 7 13 การศึกษาจุดร่วมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการกับ หลักสูตรร่วมสถานศึกษาและสถานประกอบการ (CWIE) กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/3419 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาจุดร่วมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการหลักสูตรร่วมสถานศึกษาและสถานประกอบการ CWIE กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาจุดดีร่วมของหลักสูตร CWIE 2) เพื่อศึกษาปัจจัยผลกระทบทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการของนักศึกษา CWIE ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากการศึกษา พบว่า จุดดีร่วมของหลักสูตรสหกิจศึกษาและหลักสูตร CWIE คือ นักศึกษามีความกระตือรือร้น มุ่งมั่น ขยัน อดทน ใฝ่รู้ สนใจและตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย สามารถเข้ากับผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์ อัธยาศัยและมารยาท มีน้ำใจจิตอาสา มีความสม่ำเสมอ ทำงานเป็นทีมได้ดี ตรงต่อเวลาในการทำงาน ปัจจัยที่มีผลกระทบทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการของนักศึกษา CWIE คือ ความเข้าใจหลักการ CWIE ของสถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการ และนักศึกษาตลอดการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการที่ดีด้านหลักสูตรการเรียนการสอน โดยให้สถาบันการศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันออกแบบหลักสูตร การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติงานได้</p> กนกลักษณ์ ตรีเดช Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 2 2 14 20