https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/issue/feed วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม 2024-06-29T20:30:56+07:00 Assoc. Prof. Dr. Wichein Sang-aroon jeir.eng.rmuti@gmail.com Open Journal Systems <p>คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่น กำหนดออกวารสารฉบับออนไลน์รายหกเดือน ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม และจัดพิมพ์รูปเล่มรายปี ภายใต้ชื่อ “วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม” เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่บทความและงานวิจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงงานวิจัยสหวิทยาการและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคลอบคลุมเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐาน การประยุกต์ จนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การทดลอง การออกแบบหรือการพัฒนาอุปกรณ์ รวมถึงการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถูกกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบ double blind peer review โดยพิจารณางานจากความคิดสร้างสรรค์ ความใหม่ คุณภาพของการเขียนบรรยายและผลการทดลองที่แสดงให้เห็นการค้นพบแบบมีนัยสำคัญ</p> <p>ISSN 2822-129X (Print)</p> <p>ISSN 2985-0207 (Online)</p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/2753 คลาสของกึ่งกรุปอันดับกึ่งเชิงเดียว 2024-04-29T10:25:14+07:00 พิสาร สัมมาปราบ pisan.su@rmuti.ac.th <p>If one examines a situation where globally idempotent ordered semigroups contain<br />maximal one-sided ideals, numerous instances of semisimple ordered semigroups can be<br />identified. In this paper, we find some sufficient conditions for a globally idempotent ordered<br />semigroups to be semisimple ordered semigroups.</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/2934 การประมาณค่าเชิงประจักษ์ของความเข้มของรังสีอัลตราไวโอเลตในบรรยากาศ 2024-05-23T09:38:13+07:00 สายันต์ โพธิ์เกตุ syphokate@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความเข้มรังสีอัลตราไวโอเลตโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งใช้ข้อมูลความเข้มรังสีอัลตราไวโอเลตที่ได้จากการวัดในช่วงความยาวคลื่น 290-390 นาโนเมตร ร่วมกับข้อมูลความเข้มรังสีรวมและข้อมูลภูมิอากาศในวันที่ท้องฟ้าปราศจากเมฆจากสถานีอุตุนิยมวิทยา 4 สถานี ได้แก่ สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเชียงใหม่ สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดอุบลราชธานี สถานีอุตุนิยมวิทยากรุงเทพมหานคร และสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดสงขลา ในช่วงปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2562 ในการสร้างแบบจำลองและใช้ข้อมูลอิสระในวันที่ท้องฟ้าปราศจากเมฆของปี พ.ศ. 2563 ในการทดสอบแบบจำลอง ผลการวิจัยพบว่าความเข้มรังสีอัลตราไวโอเลตมีความสัมพันธ์กับโคไซน์ของมุมเซนิทและอัตราส่วนของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่พื้นผิวโลกกับความเข้มรังสีดวงอาทิตย์นอกบรรยากาศโลก และพบว่าความเข้มรังสีอัลตราไวโอเลตมีความสัมพันธ์กับปริมาณ ไอน้ำในอากาศ ปริมาณโอโซนและข้อมูลทัศนวิสัยในรูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เมื่อทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองพบว่าค่าความเข้มรังสีอัลตราไวโอเลตที่ได้จากการวัดและค่าที่ได้จากแบบจำลองมีค่าใกล้เคียงและสอดคล้องกันโดยมีความสัมพันธ์เชิงเส้นทางบวกต่อกันมีการกระจายตัวในรอบปีสอดคล้องกันข้อมูลที่ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/1977 ระบบรับส่งพัสดุอัตโนมัติควบคุมด้วยพีแอลซี 2024-05-18T11:04:49+07:00 ธนวัฒน์ ฉลาดสกุล tanawat.ca@rmuti.ac.th บุญศวร โนนศรี bnonsri@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบระบบรับส่งพัสดุอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์โดยนำบาร์โค้ดหรือรหัสแท่งมาประยุกต์ในการใช้งานร่วมกับระบบควบคุม ตัวเครื่องมีชั้นวางพัสดุขนาด 300 x 900 x 900 มิลลิเมตร และมีช่องเก็บพัสดุทั้งหมดจำนวน 12 ช่อง ระบบขับเคลื่อนจะใช้ สเต็ปเปอร์มอเตอร์จำนวน 5 ตัว ในการขับเคลื่อนสายพานในแต่ละแกนสำหรับขนส่งพัสดุที่จะจัดเก็บไว้บนชั้นวางแต่ละชั้น มอเตอร์ไฟฟ้าเกียร์ใช้ขับเคลื่อนสายพานลำเลียงของระบบลำเลียง ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 220 โวลต์ และแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 24 โวลต์ เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า สายพานสามารถรองรับน้ำหนักพัสดุได้ไม่เกิน 400 กรัม เวลาเฉลี่ยในการเคลื่อนย้ายไปรับและส่งพัสดุจะอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด การทดลองเวลา จากจุดเริ่มต้นไปยังช่องเก็บแต่ละช่อง มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 0.25 นาที การทดลองจุดเริ่มต้นไปยังช่องเก็บพัสดุเพื่อนำพัสดุออกแต่ละช่อง มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 0.20 นาที และเวลาเฉลี่ยกระบวนการในระบบ พบว่าในแต่ละช่อง มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 0.28 นาที ตามลำดับ งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาใช้งานจริงและเป็นชุดสาธิตในการเรียนการสอนได้ เครื่องต้นแบบนี้มีต้นทุนการผลิตต่อเครื่อง 38,500 บาท และใช้พลังงานไฟฟ้า 0.4 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อเครื่อง</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/2900 การสังเคราะห์อนุภาคทองคำระดับนาโนด้วยปฏิกิริยารีดักชันภายใต้สภาวะการฉายแสงยูวี 2024-05-16T17:22:05+07:00 ยุวพร อุปปะ yuwaporn.up@rmuti.ac.th <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการสังเคราะห์อนุภาคทองคำระดับนาโนโดยใช้โซเดียมซิเตรท (Na<sub>3</sub>C<sub>6</sub>H<sub>5</sub>O<sub>7</sub>) เป็นตัวรีดิวซ์ในการเกิดรีดักชันของกรดคลอโรออริก (HAuCl<sub>4</sub>) ภายใต้สภาวะการฉายแสงยูวี (UV irradiation) ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณของตัวรีดิวซ์ที่ใช้ในการสังเคราะห์มีผลต่อการเกิดเเละขนาดของอนุภาคทองคำระดับนาโน โดยความเข้มข้นของโซเดียมซิเตรทที่เหมาะสมสำหรับการสังเคราะห์อนุภาคทองคำระดับนาโนภายใต้แสงยูวีที่กำลังไฟ 10 วัตต์ คือ 38.8 มิลลิโมลาร์ ที่ปริมาตร 0.3 และ 0.6 มิลลิลิตร อย่างไรก็ตาม สภาวะดังกล่าวนี้ไม่เหมาะสมสำหรับการสังเคราะห์อนุภาคทองคำระดับนาโนภายใต้แสงธรรมชาติ</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม