@article{จันทร์ลา_นวอัครฐานนท์_ศรีคุ้มวงษ์_2022, place={Bangkok, Thailand}, title={การเตรียมผงสีเซรามิกจากเศษหนังฟอกเหลือทิ้ง}, volume={11}, url={https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/article/view/125}, DOI={10.60136/bas.v11.2022.125}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการนำเศษหนังฟอกเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมฟอกหนังซึ่งมีโครเมียม (Cr) เป็นส่วนประกอบมาใช้ผลิตเป็นผงสีเซรามิก โดยเริ่มจากนำเศษหนังฟอกเหลือทิ้งมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี และองค์ประกอบทางเฟสด้วยเครื่อง X-ray fluorescence (XRF) และ X-raydiffraction (XRD<strong>)</strong> ตามลำดับ จากนั้นนำเศษหนังฟอกเหลือทิ้งเผาที่ 1100 °C พบเฟสหลักคือ โครเมียม (II) ออกไซด์ (Cr<sub>2</sub>O<sub>3</sub>) ถูกใช้เป็นแหล่งของโครเมียมสำหรับการผลิตผงสี นำเศษหนังหลังเผามาบดผสมแบบเปียกกับซิงค์ออกไซด์ (ZnO) อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Al(OH)<sub>3</sub>) เพื่อผลิตผงสีชมพูในระบบ Zn- Al-Cr และผสมกับซิงค์ออกไซด์และเฟอร์ริกออกไซด์ (Fe<sub>2</sub>O<sub>3</sub>) เพื่อผลิตผงสีน้ำตาลในระบบ Zn-Fe-Cr นำส่วนผสมไปเผาที่อุณหภูมิ 1200 °C ก่อนนำไปใช้เป็นผงสีในเคลือบของสโตนแวร์  จากนั้นเติมเศษหนังหลังเผาและผงสีที่เตรียมได้ 10 wt% ลงในเคลือบเซรามิกใส เคลือบลงบนเนื้อดินบิสกิตแล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1200 °C ผลการทดลองพบว่าชิ้นทดสอบหลังเผาให้สีเขียว สีชมพู และสีน้ำตาล ดังนั้น เศษหนังฟอกเหลือทิ้งสามารถเป็นแหล่งให้โครเมียมที่นำไปผลิตเป็นผงสีเซรามิกได้ นอกจากนั้น ยังได้ทดสอบหาปริมาณสารตะกั่ว (Pb) แคดเมียม (Cd) และโครเมียม (Cr) ที่ละลายออกจากเคลือบ</p>}, number={11}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ}, author={จันทร์ลา ปราณี and นวอัครฐานนท์ นิธิวัชร์ and ศรีคุ้มวงษ์ อรวรรณ}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={11–20} }